10 มาตราฐานการตัดที่เครื่องตัดที่ควรดูก่อนการเลือกซื้อ
2022-09-19 13:04:54

10 มาตราฐานการตัดที่เครื่องตัดที่ควรดูก่อนการเลือกซื้อ ว่าเราจะต้องดูอย่างไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

 

1.ความเรียบ Roughness

งานตัดเลเซอร์ที่งานมีความหนา และต้องการขอบเรียบสวยนั้นมักจะเป็นเหล็กที่ตัดด้วยออกซิเจน (O2) เป็นส่วนใหญ่ เหตุผลเพราะปฏิกิริยาการเผาไหม้และความร้อนจาก high power fiber laser จะส่งผลให้เหล็กหลอมละลายเป็นของเหลว ที่ค่าความร้อนเหมาะสมจาก Laser Beam Shape ที่ปรับขนาดได้ด้วยระบบอัตโนมัติ Parameter ที่กำหนดความเร็วตัด ชนิดและแรงดันแก๊ส ความแรงของค่าไฟ ค่า Duty และ Focal Point อย่างเหมาะสมลงตัวจะสร้างผิวตัดที่เรียบเนียนสวยงามได้ ความเชื่ออดีตที่มักเข้าใจว่า Fiber Laser เหมาะกับเพียงงานบางนั้นได้ถูกลบล้างไปเมื่อระบบ Auto Beam Shape ที่ปรับบีมโหมดอัตโนมัติแปรผันตามชนิดและความหนาของวัสดุทำให้ผิวเหล็กที่ตัดเรียบเนียนและมีความมันวาวไม่แพ้การตัดด้วย CO2 Laser แต่ไฟเบอร์เลเซอร์สามารถทำความหนาได้มากกว่าโดยมีผิวเรียบใสวาวได้

 

2. ความตรงของผิวตัด

ผิวตัดที่ตั้งฉากได้ตรงใกล้เคียงกับแนวดิ่งมากที่สุด คือ ผิวตัดที่มีประสิทธิภาพ โดยธรรมชาติของการตัดเลเซอร์ด้วยความร้อน ผิวตัดจะไม่สามารถตั้งฉากกับผิวงานได้แบบ 90 องศา ด้วยข้อจำกัดด้านการส่งผ่านลำแสงแบบรวมศูนย์ที่จุด Focus นั่นหมายความว่า การตัดเลเซอร์งานที่มีความหนา ยิ่งหนามากยิ่งมีความต่างระหว่างผิวบน และผิวล่างการใช้ Focal Length ที่เหมาะสมเท่านั้นที่จะดึงระยะผิวให้ใกล้เคียงความฉากได้มากที่สุด โดยส่วนมาก สำหรับ Fabricator ที่ต้องการตัดงานหนาเป็นประจำ วงศ์ธนาวุฒิแนะนำให้ใช้ Lens FF ช่วง 150-200 เพื่อการกินลึกและรักษาระยะห่างระหว่างชิ้นงานกับหัว Nozzle ได้ดีขึ้นเพื่อป้องกัน Splatter และฝุ่นผงจากการตัดเข้ามาเป็นอันตรายกับระบบ Beam Path ที่ภายใน laser cutting head

 

3. ร่องที่เกิดจากการตัด (Kerf width)

เมื่อตัดงานหนา Kerf Width จะกว้างขึ้นไปตามหลักการระบายความร้อนและการระเหยของ Molten ที่หลอมละลายในเวลาที่รวดเร็ว แรงดันแก๊สช่วยตัดจะเป็นตัวกำหนดอัตราการระเหยของของเหลวในร่องตัด ผู้ผลิตเครื่องตัดเลเซอร์ที่มีความชำนาญด้านการตัดงานหนาจะกำหนดความโตของรู Nozzle Aperture ระยะFocus ให้เหมาะสมกับแรงดันลม ความเร็วตัด และชนิดของแก๊ส เพื่อสร้างความแม่นยำให้เกิดขึ้นกับชิ้นงาน

 

4. ครีบด้านล่าง (Dross & Burr)

อาการตัดเลเซอร์งานหนาแล้วมีครีบอยู่ด้านหลังชิ้นงานหรือบางทีเรียกว่า Burr นั้นเป็นภาระของการจัดเก็บ second operation ที่กินทั้งแรงและเวลา นอกจากนั้นยังทำให้ชิ้นงานไม่สวยงามอีกด้วย โดยมากจะพบในการตัดอลูมิเนียมเพราะการหลอมเหลวของวัสดุโดยเฉพาะอลูมิเนียมที่เรียกว่าค่า Viscosity ผู้ผลิตเครื่องแบรนด์ใหญ่ในจีนจะมีการทดสอบการปรับค่าความเร็วตามความหนาของอลูมิเนียมบนข้อจำกัดกำลังวัตต์ที่นำมาทดสอบจนได้ค่าที่ มั่นใจว่าตัดแล้วจะไม่มีครีบด้านหลังหรือถ้ามีก็มีน้อยที่สุด user บางรายมักคิดว่าค่า viscosity นั้นมีความสัมพันธ์แบบเชิงเส้นหรือ linear relationship แต่ความจริงแล้วมันผันผวนและมั่วซั่วสุดๆ ด้วยค่าตัวแปรทางฟิสิกส์หลายอย่าง การทดสอบและการบันทึกพารามิเตอร์เท่านั้นจึงจะช่วยให้การตัดออกมาสวยงามไร้ครีบได้ รูปแบบความสัมพันธ์ของการปรับพารามิเตอร์จึงไม่อาจคาดเดาได้อย่างชัดเจนสำหรับการตัดอลูมิเนียมหนา

 

5. การตัดรูขนาดเล็กบนชิ้นงานที่หนา (Small Holes)​

ชัดเจนว่านี่คือการตัดเป็นวงกลมไม่ใช่การเจาะด้วยการ piercing เพื่อวัดคุณภาพของเครื่องตัดเลเซอร์แบบ High Power fiber Laser Cutting เนื่องจากค่าความร้อนจากลำแสงที่นำพาคลื่นความยาวสั้นของ Fiber Laser ให้ทะลุทะลวงผ่านวัสดุได้อย่างง่ายดายด้วยค่าแรงดัน assist gas อย่างเหมาะสม ความกลมของรูนั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพของ Motion Device ทั้งของแกน X และ Y และค่าการระบายความร้อนของวัสดุ การเจาะรูกลมปัจจุบัน หากปรับแต่งได้อย่างถูกต้อง สามารถเจาะได้เล็กกว่า 30% ของความหนาวัสดุ

 

6. มุมแหลมคม ไม่ละลาย (Sharp Corner Cutting)​

มุมหนาที่แหลมคมสวย ผิวบนล่างรักษาระดับได้มาตรฐาน ไม่เอียง ไม่หมองเพราะรอยไฟ overheat คือคุณภาพงานตัดเข้ามุม sharp corner ทีมีคุณภาพของ Fiber Laser Cutting High Power ระบบที่ปรับความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร่ง กำลังไฟ ค่า Duty และ cutting speed ได้อย่างลงตัว บวกกับการใช้แรงดันแก๊สที่เหมาะสม จะทำให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่แสดงในภาพ

 

7. ระบบปรับ Focus เมื่อเลนส์ร้อนเป็นเวลานาน (Auto Focus Correction)​

การตัดงานหนาเป็นเวลานานทำให้เลนส์รับความร้อนมากจนเกินไป เกิดการขยายตัวของผิวเลนส์ ส่งผลให้ระยะ focus ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ผลที่ตามมาคือหากยังคงตัดอยู่ต่อไป งานที่ออกมาจะสูญเสียระยะ focus เดิมตามค่าพารามิเตอร์ที่ตั้งไว้ และทำให้ชิ้นงานด้อยประสิทธิภาพจากสภาพเลนส์ปกติที่ไม่ถูกความร้อนเป็นเวลานาน

 

8. วัสดุเปลี่ยนรูปจากความร้อนสูง (Material Deformation)

วัสดุที่มีความหนาเสียรูปจากความร้อนในการตัดเลเซอร์เป็นเรื่องปกติ ชิ้นงานหนาที่ตัดด้วยความร้อนสูงจาก high power fiber laser เป็นเวลานานจะมี Heat Affected Zone พื้นที่ส่งผ่านความร้อนในวงกว้าง สิ่งที่เกิดขึ้นประจำคือการตัดที่มีค่าความแม่นยำน้อยลง สาเหตุหลักคือตัววัสดุเองที่อมความร้อนไว้มากและคายความร้อนออกมาในรูปแบบการส่งผ่านความร้อนไปสู่บริเวณรอบข้างทำให้วัสดุเกิดการขยายตัว และเสียรูป

 

9. ตัดประหยัดและตัดสวยด้วยการใช้ลม (Air Cut)

High Power Fiber Laser มีพลังความร้อนจากความเข้มของแสงต่อหน่วยพื้นที่ที่มากกว่า low power Fiber Laser ด้วยค่า BPP ที่เข้มข้นมากว่าทำให้การถ่ายพลังความร้อนจากแสงสู่วัสดุเป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดภาระแรงดันลมลงไปได้มาก ศักยภาพในการตัดงานที่หหนาขึ้นจึงสูงขึ้นเมื่อตัดด้วย compressed air

 

10. รอยแผลจากการ Lead-in (LEAD-IN Effect)

บ่อยครั้งที่การตัดงานกลมและงานเหลี่ยมจะมีรอยแผลจากการ LEAD-IN สิ่งสำคัญที่แตกต่างระหว่างงานบางกับงานหนาในการตัดเลเซอร์นั้นคือเทคนิคการลบแผลจากการเปลี่ยนทิศทางของแสงเพื่อเพิ่มความเรียบเนียนให้กับชิ้นงานมากที่สุด งานสวมประกอบเป็นหนึ่งในความจำเป็นที่ต้องมีเทคโนโลยี Smooth LEAD-IN และงานที่ต้องการลดค่าแรงและเวลาการขัดเก็บเพื่อลดปริมาณ NG ก็เป็นอีกเหตุผลจำเป็นสำหรับการใช้ Smooth LEAD-IN สำหรับการตัดเลเซอร์งานหนาอย่างมีคุณภาพ